ย้อนอดีต SMA ๑๒/๖๐ เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติเครื่องแรกในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ : พระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ ๙
“เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระเหม่อมพระราชทานค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ ทางเคมีคลินิก(Simultaneous Multiple Analyser,SMA ๑๒/๖๐) แก่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติที่สามารถวิเคราะห์สารเคมีในเลือด ได้พร้อมกันหลายชนิดในเวลาเดียวกันเป็นเครื่องแรกในประเทศไทย”
นี่คือข้อความตอนหนึ่ง ในคำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหิดล ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์...
การต่อสู้เพื่อยกเลิก อทกพ.
กว่าที่เราจะได้ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และกลายเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการพทย์อย่างเต็มภาคภูมิได้ในวันนี้ เทคนิคการแพทย์รุ่นพี่ในยุคก่อนได้ร่วมกันต่อสู้เรียกร้อง เพื่อยกเลิกอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์-อทกพ. ในยุคเผด็จการเต็มใบมาแล้ว เรื่องราวการต่อสู้เรียกร้องในครั้งนั้น อาจมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่รับรู้ ทั้งๆ ที่มันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของวิชาชีพเราแท้ๆ.. สิ่งที่จะนำเสนอต่อไปนี้คือเรื่องราวในหน้าประวัติศาสตร์วิชาชีพ ที่เทคนิคการแพทย์รุ่นหลังควรเรียนรู้
ประวัติศาสตร์วิชาชีพบอกไว้แต่เพียงสั้นๆว่า ปีพุทธศักราช 2503...
“อทกพ.-เอาเท่านี้ก็พอ” หนามยอกอกรุ่นพี่เทคนิคการแพทย์
ผมทิ้งท้ายเอาไว้เมื่อวันก่อนว่า ยังมีประเด็นที่ยังรอคำตอบอยู่อีกว่า การยกเลิกอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "หนามยอกอก" ของรุ่นพี่ทุกคน จนมาเป็น วท.บ.(เทคนิคการแพทย์) ในวันนี้ รุ่นพี่เทคนิคการแพทย์ในยุคต้นๆ ได้ต่อสู้กันมาอย่างไร
เราต้องไม่ลืมว่า แรกเริ่มที่มีหลักสูตร "เทคนิคการแพทย์ "ในประเทศไทย ...
เทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทย กับปัญหาข้อกฎหมาย
เทคนิคการแพทย์รุ่นแรกของประเทศไทย จำนวน 5 คน สำเร็จการศึกษาอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์ (อทกพ.) เมื่อเดือนเมษายน 2500 ก่อนที่จะมีการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ขึ้นตามกฎหมายในวันที่ 10 กรกฎาคมปีเดียวกัน การที่มีนักศึกษาสำเร็จการศึกษา ก่อนที่จะมีคณะเกิดขึ้น ก่อให้เกิดข้อสงสัยตามมาว่าอนุปริญญาเทคนิคการแพทย์...
การจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ครั้งแรกของประเทศไทย จากคำบอกเล่าของ ศ.นพ.วีกูล วีรานุวัตติ์
บทความนี้ คัดจากส่วนต้นของบทความต้นฉบับ เรื่อง “การจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์” เขียนโดยศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล วีรานุวัตติ์ ตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ครบรอบ 25 ปี ฉลองอาคารหลังใหม่ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล 19 เมษายน...
ความเป็นมาของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย
ความเป็นมาของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย เริ่มขึ้นจากคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลปัจจุบัน) มีดำริที่จะผลิตบุคคลากรเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2487 เพราะขาดแคลนบุคลากรที่จะทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จึงโยกย้ายพยาบาลบางส่วนมาฝึกหัดตรวจวิเคราะห์ ก่อให้เกิดปัญหาการใช้บุคลากรไม่ตรงตามเป้าหมายการผลิต หลวงลิปิธรรมศรีพยัตต์ (ลิ ศรีพยัตต์) ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลขณะนั้น...